1. หน้าแรก
  2. ข้อมูลสหกรณ์
  3. ประวัติพระบิดาสหกรณ์ไทย

ประวัติพระบิดาสหกรณ์ไทย


พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

ปฐมวัย - สิ้นพระชนม์           

          พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ และคุณจอมมารดาเลื่ยม (เล็ก) ประสูติเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2419 (ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ แรม 11 ค่ำ ปีชวด)

           เมื่อยังไม่ได้ทรงกรมมีพระนามว่า พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส (ต้นสกุล "รัชนี")  ทรงมีเจ้าพี่ร่วมจอมมารดาเดียวกันพระองค์หนึ่งพระนามว่าพระองค์เจ้าหญิงภัททาวดีศรีราธิดาพระชันษาแก่กว่าพระองค์ท่าน 5 ปี  แต่สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้เพียง 29 ปี

           เมื่อทรงพระเยาว์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเป็นผู้ได้รับความเมตตาจากบรรดาพระญาติที่เป็นเจ้านาย และเป็นที่ยำเกรงของผู้ที่รับราชการในพระราชวังบวรทรงมีความเฉลียวฉลาดจนคุณจอมมารดาต้อง “จับ” สอนหนังสืออยู่กับตำหนักพระองค์ท่านก็ทรงอ่านออกเขียนได้

          เมื่อพระชันษาได้ 5 ขวบ ก็ทรงค้นหาโคลงกลอนมาอ่าน เช่น อิเหนา รามเกียรติ์ และโคลงกลอนเก่า ๆ รวมทั้งหนังสือสามก๊ก และเรื่องจีนอื่น ๆ ด้วย นอกจากนั้นยังได้ทรงศึกษาหนังสือขอมโดยมีเจ้าพี่ (พระองค์เจ้าหญิงภัททาวดีศรีราชธิดา) เป็นผู้ทรงสอนให้ จนสามารถอ่านถวายกรมพระราชวังบวชได้ นอกจากนั้นพระองค์ทรงแต่งโครงได้ด้วย เมื่อพระองค์พระชนมายุได้ 7 ขวบ จึงตกเป็นหน้าที่ของคุณจอมมารดาที่จะเลี้ยงดูอบรมพระองค์ท่านตั้งแต่นั้นมา

          พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตันเมื่อวันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 เวลา 15.30 น. สิริพระชนมายุได้ 68 ปี 6 เดือน 13 วัน และด้วยพระเกียรติคุณที่ทรงสร้างไว้ในขณะมีพระชนม์ชีพ จึงได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศมณฑปทรงพระศพเป็นพระเกียรติยศ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2491 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประกอบพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสและพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ให้เป็นพระศพหลวง

พระประวัติการศึกษา

               พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเรียนหนังสือกับคุณจอมมารดาและพระญาติทรงอ่านได้คล่องแคล่วพอพระชันษาได้ 10 ขวบ คือใน
                พ.ศ. 2429 จึงได้เสด็จเข้าเป็นนักเรียนประจำในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ซึ่งขณะนั้นเป็นโรงเรียนในพระบรมมหาราชวัง และทรงเรียนภาษาอังกฤษไปพร้อมกันด้วย และเมื่อโสกันต์แล้ว (พระชนม์มายุ 13 ปี) ก็ได้ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดราชประดิษฐ์มหาสีมาราม
                 พ.ศ. 2434 ทรงเรียนจบประโยค 2 โดยทรงสอบไล่ได้เป็นที่ 1 ทรงได้รับพระราชทานรางวัลเป็นหีบหนังสือ และได้ทรงเรียนภาษาอังกฤษต่อจนจบหลักสูตร จึงไปศึกษาภาษาอังกฤษที่โรงเรียนอื่นอีกระยะหนึ่งประมาณ 2 ปี จนสามารถตรัสภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดีในขณะที่ทรงรับราชการอยู่ในกระทรวงธรรมการ 2 ปีเศษนั้น ทรงสนพระทัยแสวงหาความรู้ทางภาษาอังกฤษเพิ่มเติมอยู่มิได้ขาดด้วยความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
                พ.ศ. 2439  มีพระราชโองการฌปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากกระทรวงธรรมการมาเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
                พ.ศ. 2440  ทรงย้ายดำรงตำแหน่งเป็นล่ามที่กระทรวงพระคลัง และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตามเสด็จพระราชดำเนินประพาสทวีปยุโรปในปีนั้น แล้วได้พระทานพระบรมราชานุญาตให้เสด็จอยู่ทรงเล่าเรียนต่อไปในประเทศอังกฤษ
                พ.ศ. 2441 ทรงสอบเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ แต่ทรงเรียนอยู่ได้เพียง 3 เทอม ทางราชทูตก็แจ้งมาว่า เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติต้องการให้กลับเมืองไทย เพื่อช่วยราชการในตำแหน่งหน้าที่ที่ได้ทรงกระทำอยู่ก่อนเสด็จมาศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2442 รวมเวลาที่ทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ ประมาณ 2 ปี